จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

10 กุมภาพันธ์ 2555

* คำสรรพนาม

..........คำสรรพนาม
          คือ คำที่ใช้แทนคำนามที่ผู้พูดหรือผู้เขียนได้กล่าวแล้ว
หรือเป็นที่เข้าใจระหว่างผู้ฟังและผู้พูด เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำ
มีวิธีใช้ดังนี้

๑. ใช้แทนคำชื่อของคนที่สนทนากัน คือ
     แทนชื่อผู้พูด  เช่น ฉัน ดิฉัน ผม กระผม ข้าพเจ้า
     แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย เช่น คุณ เธอ ท่าน ใต้เท้า
     แทนชื่อผู้ที่เราพูดถึง เช่น เขา เธอ ท่าน มัน

๒. ใช้แทนคำชื่อที่กล่าวมาแล้วเพื่อชี้ระยะ มีคำว่า นี่ นั่น โน่น ฯลฯ

๓. ใช้แทนคำชื่อที่กล่าวมาแล้วเพื่อแบ่งหรือรวมประโยค มีคำว่า
บ้าง กัน ต่าง ฯลฯ เช่น

          เราต้องช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ
          ทุกคนต่างก็ตั้งใจอ่านหนังสืออย่างเต็มที่
          ชาวนาแถบนี้บ้างก็ทำไร่ข้าวโพดบ้างก็ปลูกขิง

๔. ใช้แทนคำชื่อเพื่อเชื่อมประโยคที่มีคำว่า ที่ ซึ้ง อัน ฯลฯ เช่น
          ฉันชอบอ่านหนังสือที่อ่านแล้วให้ความรู้
          คนเราต้องพึ่งพาอาศัยซึ้งกันและกัน
          การกระทำอันขาดสติย่อมย่อมเกิดผลเสียแก่ตนเองและผู้อื่น

๕. ใช้แทนคำชื่อที่ไม่เฉพาะเจาะจง มีคำว่า ใคร อะไร ไหน ฯลฯ เช่น
          อะไร ๆ ก็ทำไม่เป็น
          พูดเสียงดังลั่นใคร ๆ ก็ได้ยิน
          เธอจะเอาอย่างไหนกันแน่

----------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง:สรุปหลักภาษาไทย การใช้ภาษาไทย
Rinlaporn&Omsin

* คำนาม

คำนาม คือ คำที่แสดงความหมายถึงคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ
สถานที่ ลักษณะซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวต เช่น ดาวเรือง นกกระสา
เก้าอี้ คำนามบางคำไม่ได้บอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ สถานที่
แต่บอกลักษณะ และนามที่บอกลักษณะนี้ เราเรียกว่า ลักษณะนาม มักจะ
อยู่หลังคำบอกจำนวน เช่น ช้าง ๑ ตัว บ้าน ๓ หลัง ปากกา ๒ ด้าม
..........คำว่า ตัว เป็นลักษณะนามของ ไก่
..........คำว่า หลัง เป็นลักษณะนามของ บ้าน
..........คำว่า ด้าม เป็นลักษณะนามของ ปากกา

..........การใช้คำลักษณะนาม นอกจากสามารถใช้ตามหลังจำนวนแล้ว
ยังสามารถตามหลังคำนามก็ได้  เช่น เสื้อตัวสีเขียวสวยจริง ๆ มะนาว
ต้นนี้สูงมาก โรงเรียนหลังนี้ใหญ่

คำนามมีหลายชนิด ดังนี้
๑. คำนามทั่วไป เป็นคำที่ไม่ชี้เฉพาะว่าเป็นสิ่งไหน เช่น ดินสอ สมุด
ปากกา กระป๋อง ฯลฯ

๒. คำนามเฉพาะ เป็นคำที่ชี้เฉพาะลงไปว่าเป็นใครหรือสิ่งใด เช่น
นายสมชายวิ่งเก่ง

๓. คำนามบอกหมวดหมู่ เป็นคำที่บอกว่ามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง
รวมกัน เช่น ฝูงช้าง กองดิน ฯลฯ

๔. คำนามบอกอาการ เป็นคำที่บอกการกระทำหรือการแสดงมักมีคำว่า
ความ การ อยู่ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น การนอนหลับ การเรียน ความดี
ความชั่ว ความกลัว ฯลฯ

๕. คำนามบอกลักษณะ เป็นคำตามหลังจำนวนบอกลักษณะของนามนั้นๆ
ดังตัวอย่างเช่น ปากกา ๓ ด้าม ไข่ ๓ ฟอง

หน้าที่ของคำนาม
มีดังนี้
๑. ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น นารีจับปลา
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น น้องดิวชอบเล่นฟุตบอล
๓. ทำหน้าที่เป้นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น แม่เย็บเสื้อให้ฉัน
๔. ทำหน้าที่ขยายคำนามอื่น
๕. ทำหน้าที่ขยายกริยา บอกสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา เช่น
เขาไปตลาด วิภาชอบทำงานตอนเย็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:สรุปหลักภาษาไทย การใช้ภาษาไทย
Rinlaporn&Omsin

* กระดาษกรองกาแฟ

 .......กระดาษกรองกากกาแฟที่เพื่อนๆใช้อยู่บ่อยๆนั้น
คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2451 หรือ เมื่อเกือบ 100 ปี
มาแล้ว โดยนางเมลิตตา เบยซ์ เป็นแม่บ้านจาำเมือง
เดรสเดิน ประเทศเยอรมนี ซเธอนั้นมองหาวิธีต้ม
กาแฟของเธอ ที่ไม่รสขมเพราะต้มนานเกินไป 
เธอจึงตัดสินใจต้มกาแฟแบบกรองดู โดยการเทน้ำร้อน 
ใส่เมล็ดกาแฟบดและกรองเอากากออก เธอได้ทดลอง
เอาวัสดุต่างๆ หลายชนิดมากรอง จนเธอได้พบว่า กระดาษ 
ซับที่ลูกชายใช้ที่โรงแรมนั้นได้ผลดีที่สุด เธอจึงตัด
กระดาษซับเป็นรูปวงกลม วางลงในถ้วยโลหะ แล้ว
กระดาษกรองกากกาแฟของเธอชิ้นแรก

........หลังจากนั้นไม่นาน เธอและสามี ก็ได้ตั้งบริษัทขึ้น 
โดยใช้ชื่อของเธอเป็นชื่อของบริษัท.

-------------------- 
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : ทำทุกอย่างได้ไม่ธรรมดา
Rinlaporn&Omsin

* ใบไม้

 

          เพื่อนๆ เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่าใบของต้นมี
สารพัดขนาดและรูปร่าง บ้างก็ใหญ่มาก บ้างก็เล็ก
มีทั้งใบกว้างและใบเล็ก ขอบใบเรียบ ๆ ก็มี
เป้นรอยหยักก็มี หรือบางทีก็เป็นฝอย ส่วนรูปร่าง
ก็มีทั้งกลม ยาว รูปไข่ รูปหัวใจ รูปดาว รูปใบพาย
รูปจาน รูปเข็ม หลากหลายสุดที่เราเคยพบเห็นกัน

....รู้ไหมว่าทำไมใบไม้จึงมีขนาดและรูปร่างต่างกัน
มากมายอย่างนั้น

....เราเปรียบใบไม้เสมือนเป็นปากของต้นไม้ คอย
รับอาหารหรือคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและ
รับแสงแดด จึงเป้นหน้าที่ของใบไม้ที่ต้องพยายาม
กินอาหารให้ได้มากท่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อต้นไม้
นั้นจะได้เติบโตและรอดชีวิต ดังนั้น ถ้าพิจารณาดู
ให้ดีจะเห็นว่าใบไม้มีรูปร่างอย่างใดนั้นย่อมขึ้นอยู่
กับความเป็นอยู่ของต้นไม้นั้น

.....ต้นไม้ชนิดใดที่มีที่ทางเติบโตได้อย่างสบาย
เช่น ยาสูบ ทานตะวัน ชมพู่ มะม่วง จะมีใบที่กว้างใหญ่
แผ่ออกรับแสงแดดในแนวนอนได้อย่างเต็มที่ ส่วนหญ้า
ซึ่งต้องขึ้นเบียดกันจะมีใบแคบยาวตั้งตรง เพื่อที่แต่ละใบ
จะได้รับส่วนแบ่งแสงแดดเท่า ๆ กัน

.....ถ้าเป็นไม้พุ่มหนาทึบและต้นไม้ที่ขึ้นเป็นรั้ว
หนาแน่น แต่ละต้นต้องต่อสู้แก่งแย่งอาหา
ระหว่างกัน ต้นไม้อย่างนั้น ต้องมีใบที่มี
ลักษณะแยกเป็นแฉก ๆ หรือมีใบย่อยเล็ก ๆ
จำนวนมาก จึงจสามาถ "จับ" แสงแดดที่ส่อง
ผ่านทะลุใบอื่นที่แน่นหนารอบ ๆ

.....ไม่ใช่แต่เพียงว่าต้นไม้ส่วนใหญ่ที่ขึ้น
ในที่ร่มหรือขึ้นอย่างแออัด มีใบยาวเล็ก
หรือใบแฉกย่อย และต้นไม้ที่ชูต้นสูง
มีใบกว้างใหญ่ แม้แต่กิ่งก้านเดียวกัน
ใบไม้ก็จัดเรียงตัวให้ซ้อนหรือบังแสงกัน
ให้น้อยที่สุดที่จะทำได้ ทั้งนี้เพื่อที่ต้นไม้นั้น
จะได้รับอาหารมากที่สุด

---------------------------
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : รู้ไว้ใช่ว่าประสาวิทยาศาสตร์,กฤษณา ชุติมา
Rinlaporn&Omsin