จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

15 มิถุนายน 2554

คนดีมีสัจจะ

บทที่ ๗
คนดีมีสัจจะ
เนื้อหา


..........คนดีมีสัจจะ  เป็นเรื่องของเจ้าชายที่ไม่มีสัจจะ เรื่องมีอยู่ว่า หนุ่ยกับโหน่งซึ่งเป็นน้องชายชอบฟังนิทานชาดกจากวิทยุรายการธรรมะซึ่งพระท่านเทศน์ว่า สัจจะ หมายถึง ความตรง ความแท้  ความแน่นอน คนไม่มีสัจจะ คือ คนไม่ตรง ไม่แท้ ไม่แน่นอน ตอนนี้เราเป็นเด็ก เราก็ต้องฝึกตัวเราให้มีสัจจะดังเรื่อง ผู้มีสัจจะ ที่จะเล่าต่อไปนี้


..........ในอดีตมีเจ้าชายองค์หนึ่ง มีนิสัยกระด้างหยาบคายไม่เป็นที่รักของใคร ๆ เมื่อได้ลงสรงน้ำอยู่ก็ให้บริวารพาออกเล่นที่กลางแม่น้ำ บริวารจึงพาเจ้าชายออกไปกลางแม่น้ำ แล้วก็พากันผละหนีขึ้นฝั่งไป ปล่อยเจ้าชายไว้กลางแม่น้ำ กระแสน้ำได้พัดพาเจ้าชายไปจนพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ลอยน้ำมา พระองค์จึงทรงคว้าท่อนไม้มากอดไว้แล้วกันแสง มีงูและหนูซึ่งชาติก่อนเป็นเศรษฐีและได้นำสมบัติมาฝังไว้ริมแม่น้ำ เมื่อเกิดมาเป็นงูและหนูจึงมาอยู่ในรูเพื่อเฝ้าขุมทรัพย์ที่เคยฝังเเอาไว้ เมื่อฝนตกหนักน้ำท่วมรูจึงออกจากรูว่ายน้ำหนีมา และพากันขึ้นไปเกาะอยู่บนท่อนไม้ร่วมกับเจ้าชาย นอกจากนี้ยังมีนกแขกเต้าที่ต้นงิ้วที่มันทำรังอยู่ถูกกระแสน้ำพัดโค่นลงมาทำให้มันไม่มีที่อยู่ เมื่อเห็นท่อนไม้ที่เจ้าชายและสัตว์ทั้งสองผ่านมา มันจึงบินไปเกาะอยู่ด้วย ทั้งเจ้าชาย งู หนู และนกแขกเต้าลอยไปตามกระแสน้ำจนถึงอาศรมพระดาบส พระดาบสจึงช่วยเจ้าชายและสัตว์ทั้งสามขึ้นมา แล้วช่วยเหลือให้สัตว์ทั้งสามได้รับความอบอุ่นก่อน โดยก่อไฟให้ผิงเพราะเห็นว่าสัตว์ทั้งสามมีกำลังน้อยกว่าเจ้าชาย เวลาให้อาหารก็ให้แก่สัตว์ทั้งสามนั้นก่อน ทำให้เจ้าชายทรงเข้าพระทัยผิดคิดว่าพระดาบสไม่นับถือ พระองค์จึงผูกใจเจ็บ


..........เมื่อเจ้าชายและสัตว์ทั้งสามแข็งแรงขึ้นจึงมาบอกลาพระดาบสเจ้าชายบอกพระดาบสว่า "พระคุณเจ้า เมื่อข้าพเจ้าเป็นใหญ่เป็นโตแล้ว ขอให้ท่านไปหาเถิด ข้าพเจ้าจะอุปการะท่าน" ส่วนงูกับหนูนั้นก็บอกว่า "พระคุณท่านได้ช่วยชีวิตพวกข้าพเจ้าไว้ พวกข้าพระเจ้ามีสมบัติมากมายที่จะสนองคุณท่านอย่างงาม" นกแขกเต้าบอกว่า " พระคุณเจ้า ข้าพระเจ้าไม่มีสมบัติมากมายเหมือนงูกับหนู แต่เมื่อใดพระคุณท่านต้องการข้าว ขอให้ไปหาข้าที่ริมแม่น้ำเิถิด" แล้วเจ้าชายกับสัตว์ทั้งสามก็จากพระดาบสไป


..........ต่อมาไม่นานพระดาบสก็คิดจะทดสอบสัจจะของเจ้าชายและสัตว์ทั้งสาม จึงไปพบสัตว์ทั้งสามก่อน และสัตว์ทั้งสามก็ทำตามคำพูดที่ได้บอกกับพระดาบสไว้ด้วยความยินดี แล้วพระดาบสก็ไปพบกับเจ้าชายซึ่งขณะนั้นได้เป็นพระราชาแล้ว เมื่อเจ้าชายทอดพระเนตรเห็นพระดาบส จึงรับสั่งให้ทหารไปจับพระดาบสมาเฆี่ยนตี พระดาบลสไม่แสดงความกลัวแต่อย่างใด กับพูดขึ้นมาว่า " ไม้ลอยน้ำมา ดีกว่าคนบางคน" 


..........เมื่อชาวเมืองได้ฟังคำพูดของพระดาบสเช่นนั้น จึงถามถึงเรื่องราวที่เป้นมา พระดาบสจึงเล่าให้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เมื่อชาวเมืองรู้เรื่องจึงขับไล่พระราชาออกจากเมืองไปเพราะเห็นว่าเป็นคนไม่มีสัจจะ แล้วเชิญพระดาบสขึ้นเป็นพระราชาปกครองเมือง แต่พระดาบสปฏิเสธและแนะนำให้ชาวเมืองคัดเลือกคนดีปกครองบ้านเมืองต่อไป


..........เมื่อหนุ่ยและโหน่งฟังพระเทศน์และเล่านิทานชาดกเรื่องคนดีมีสัจจะจบแล้ว โหน่งสงสัยคำว่าคนดีคือคนอย่างไรจึงพากันไปถามคุณยาย คุณยายจึงอธิบายให้ฟังว่า " คนดีีต้องเป็นคนที่มีความจริงใจ รักษาสัจจะ รู้จักคิด รู้จักถนอมน้ำใจคนอื่น" แล้วยังมีอีกหลายอย่าง ให้ช่วยยายคิดบ้างซิ และมาบอกยายซิว่า "หลานทำอะไรบ้างที่ทำให้รู้สึกสบายใจและมีความสุข นั่นแหล่ะคือความดี คนที่ทำความดีก็คือคนดี


ขอขอบพระคุณ
แหล่งข้อมูล : หนังสือเสริมการเรียนภาษาไทย (ภาษาพาที-วรรณคดีลำนำ) ป.3
                    อ.กัลย์ชลิตา ศิวารมย์
Rinlaporn&Omsin

5 มิถุนายน 2554

ลักษณะนาม อักษร ข

ขน ๑.....สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์.....(เส้น)
ขน ๒.....สิ่งปกคลุมผิวหนังสัตว์ปีก เช่น นก, เป็ด, ไก่.....(ขน, อัน)
ขนม.....ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้ง
          หรือข้าวกับกะทิหรือน้ำตาล...(เรียกตามลักษณะ เช่น ชิ้น, อัน, แผ่น, ตัว
          เรียกตามภาชนะที่บรรจุ เช่น ถ้วย, ชาม)
ขนมครก.....ขนมทำด้วยแป้งกับกะทิหยอดในโลหะที่ทำเป็นลุมๆ
          ตั้งบนไฟ.....(ฝา, คู่)
ขนมจีน.....อาหารชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลมๆคล้านเส้นหมี่.....(จับ,หัว)

แหล่งข้อมูล : หนังสือศัพทานุกรมลักษณะนาม, สุทธิ ภิบาลแทน
By : Rinlaporn&Omsin

ศัพทานุกรมลักษณะนาม

ลักษณะนาม
          เป็นการจัดทำขึ้นเพื่อมุ่งรวบรวมคำนามที่ทำหน้าที่ประกอบนามอื่น เพื่อแสดงรูปลักษณะ ขนาด หรือปริมาณชองนามนั้น ๆให้ชัดเจนยิ่งขึ้น คำนามพวกนี้ในทางหลักภาษาไทยเรียกว่า คำลักษณะนาม ที่ภาษาไทยมีใช้กันทั่วไป แต่มักใช้ไม่ถูกต้อง และกำลังถูกละเลยจนไม่ทราบว่าคำไหนใช้ถูกคำหรือคำไหนใช้ผิด เพราะภาษาไทยซึ่งเป้นเอกลักษร์ทางวัฒนธรรมของไทยจะถูกลืมเลือนและนำไปใช้อย่างผิดๆ
          จึงได้มีการรวบและได้ค้นคว้าจากหนังสือต่างๆ นักปราชญ์ราชบัณฑิตย์ นักภาษาศาสตร์ มาลงให้ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า
          ขออนุญาติผู้เขียน ผู้บัญญัติศัพทานุกรมลักษณะนาม และผู้เกี่ยวข้องทุกๆท่าน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน จึงกราบเรียนมา ณ ที่นี้ และขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง



โดย : Rinlaporn&Omsin

ลักษณะนาม อักษร ก

ก๊ก......พวก, หมู่, เหล่า.....(ก๊ก)
กง.....ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อมๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้
          เพื่อปลูกพืชล้มลุก...(กง)
กงกระสุน.....ไม้สำหรับดีดฝ้าย มีรูปเหมือนคุนธนู.....(คัน)
กงเกวียน.....ล้อเกวียน.....(กง,วง)
กงข้าง,กงค้าง.....ไม้ตรึงข้างท้องเรือ.....(ตัว,อัน)
กงฉาก.....เครื่องยึดมุมฉาก.....(อัน)
กงธนู.....คันธนู.....(คัน)
กงพัด ๑.....กงสำหรับพัด เป็นรุปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดเครื่องระหัด
          กงพัดเครืื่องสีฝัด, ประตูหมุน เครื่องพัดด้าย.....(อัน)
กงพัด ๒.....ไม้เหลี่ยมสอดในรูซึ่งเจาะที่โคนเสาเรือน.....(ตัว)
กงเรือ.....ไม้รูปโค้งที่ตั้งเป็นโครงเรือ.....(กง,อัน)
กงแร้ว.....เครื่องมือดักสัตว์.....(คัน)
กงล้อ.....ไม้วงล้อ.....(กง,วง)
กงวาน.....ไม้ประกอบท้องเรือ.....(ตัว,อัน)
กฎหมาย.....หนังสือที่เป็นหลักฐาน.....(ฉบับ)
กติกา.....ข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ.....(ข้อ)
กบ ๑.....ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบก.....(ตัว)
กบ ๒.....เครื่องมือช่างไม้สำหรับไสไม้.....(ตัว)
กบ ๓.....กลอนประตูหน้าต่างบ้านสมัยโบราณ.....(ตัว,อัน)
กบ ๔.....เครื่องมือเหลาดินสอ.....(ตัว,อัน)
กบาล,กระบาล.....ดินเหนียวผสมแกลบ ใช้ปิดปากจอกของพิมพ์หล่อพระ
          กระเบื้อง.....(แผ่น)
กรง.....สิ่งที่ทำเป็นซี่ๆ สำหรับขัง.....(กรง, ลูก, ใบ)
กรณฑ์ ๑.....เครื่องหมายคณิตศาสตร์.....(ตัว)
กรณฑ์ ๒, กรัณฑ์.....ภาชนะมีฝาปิด, หม้อน้ำ.....(ใบ)
กรด ๑.....สารเคมีชนิดหนึ่ง มีรสเปรี้ยว.....(ตัว)
กรด ๒.....ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง มักขึ้นในที่น้ำท่วม.....(ต้น)
กรด ๓.....ภาชนะใส่เทพมนตร์ของพราหมณ์.....(ใบ)
กรบ.....เครื่องมือแทงปลาชนิดหนึ่ง.....(อัน)
กรม.....ส่วนราชการที่รองลงมาจากกระทรวง ทบวง.....(กรม)
กรมธรรม์.....เอกสารในการประกันภัย.....(ฉบับ)
กรรไกร, กรรไตร, ตะไกร.....เครื่องมือใช้หนีบหรือตัด.....(เล่ม)
กรรชิง, กระฉิ่ง, กระชิง.....ร่มเครื่องยศ...(คัน)
กรรเชียง,กระเชียง.....เครื่องพุ้ยน้ำให้เรือเดินรูปคล้ายแจว.....(เล่ม,คู่)
กรรเชียงปู,กระเชียงปู.....ตีนสุดท้ายของปู.....(ข้าง, อัน, คู่)
กรรบิด.....มีด.....(องค์)
กรรภิรมย์, กรรม์ภิรมย์, กันพิรุณ, กันภิรมย์.....ฉัตร ๕ ชั้น
          สำรับหนึ่ง.....(องค์)
กรวด ๑.....ก้อนหินเล็กๆ.....(ก้อน,เม็ด)
กรวด ๒, จรวจ.....ชื่อดอกไม้เพลิฝชนิดพุ่งขึ้นสูงมีหาง.....(ดอก, ตัว)
กรวย.....ของมีรูปกลม กลวง ยาวเรียวแหลม.....(กรวย, อัน)
กรวยคู่สวด, กรวยอุปัชฌาย์.....กระทงมีฝาเป็นกรวยครอบ
          ข้างในใส่หมากหรือเมี่ยง.....(ที่)
กร้อ, ตะกร้อ.....เครื่องสานยาชัน รูปร่างคล้ายปุ้งกี๋ใช้วิดน้ำเรือ.....(ใบ)



แหล่งข้อมูล : ศัพทานุกรมลักษณะนาม, สุทธิ ภิบาลแทน
By : Rinlaporn&Omsin

ภูมิใจภาษาไทยของเรา

บทที่ ๖
ภูมิใจภาษาไทยของเรา
เนื้อหา


..........ภูมิใจภาษาไทยของเรา เป็นเรื่องการจัดกิจกรรมวันภาษาไทยแห่งชาติ ของโรงเรียนน้ำผึ้ง มีสาระสรุปดังนี้
..........วันที่ ๒๙ กรกฎาคมของทุกปี รัฐบาลได้กำหนดให้เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ ปีนี้โรงเรียนของน้ำผึ้งจึงจัดกิจกรรมภาษาไทยแห่งชาติขึ้นดังเช่นทุกปี เพื่อให้เด็กได้แสดงผลงาน เช่น การโต้วาที การประกวดแต่งเรียงความและคำประพันธ์ การทายปัญหาคำศัพท์จากพจนานุกรม การแข่งขันอ่านฟังเสียง การจัดป้ายนิเทศแสดงผลงานของนักเรียน เด็ก ๆ จึงต้องมาช่วยกันเตรียมงานล่วงหน้าในวันหยุด ในระหว่างการมาเตรียมงานกันนั้นก็เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ภาษาขึ้น คือ ตู๋ ไปซื้อไส้กรอกปิ้งที่แม่ค้าปิ้งขาย เพื่อมาแบ่งกับเพื่อน ๆ กิน โดยตู๋บอกแม่ค้าว่า "เอาไส้กรอกไม่ไหม้ ๖ ไม้" และแม่ค้าก็หยิบไส้กรอกไหม้ ๆ ให้ตู๋ ๖ ไม้ ตู๋จะขอเปลี่ยนแม่ค้าก็ไม่ยอม และบอกตู๋ว่า "เราสั่งอย่างนั้นก็ต้องเอาอย่างนั้นไป" เรื่องต่อมาเกิดจากกลุ่มนักเรียนที่ตัดตัวอักษรเตรียมจัดป้ายซึ่งทำำตัวสระโอหายไปจึงถามกันว่า "สระโอหายไปไหน" เป้งได้ยินจึงตอบว่า "โอไปตักน้ำที่สระ" ทำให้เพื่อน ๆ หัวเราะกันใหญ๋เพราะเราไม่ได้ถามถึงนายโอสระโอจะเดินไปตักน้ำได้อย่างไร


..........ส่วนแก้วตาสนใจการแต่งเรื่องที่เขาติดไว้ที่ป้ายแสดงผลงาน มีเรื่องหนึ่งที่ผู้เขียนนำคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนไม่เหมือนกันมาแต่งได้อย่างสนุก ๆ เช่น
          - คุณย่าเกิดวันพุธ ไปบูชาพระพุทธรูปองค์ใหญ่
          - วันพระ มีพระธรรมเทศนา
          - คุณย่าบอกพ่อว่าวันเสาร์ให้ไปตัดหญ้าบริเวณเสาไฟฟ้าด้วย
          - ถ้าหญ้าขึ้นรกจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หรือเป็นที่หลบซ่อนของคนที่ไม่ซื่อสัตย์์อีกด้วย
          - คนไม่มีคุณค่า มักเป็นข้ายาเสพติด และมักฆ่ากันเอง


..........เรื่องคำควบกล้ำ  ตู๋กับโอมีความแม่นยำและอ่านออกเสียงไ้ด้ถูกต้องจนได้รับรางวัลในการประกวดทั้ง ๒ คน โดยตู๋กับโอได้อ่านคำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกันดังนี้
          ตู๋อ่าน  - ดุมรถเรียกว่าเพลา ช่างเงียบเหงาเพลาเย็น
          โออ่าน  - ใต้ต้นเสลาใกล้เสลาก้อนใหญ่จอกทองคำที่อยู่ในบ่อน้ำซึ่งมีจอกแหนเต็มไปหมด
..........เพื่อนมารุมล้อมตู๋กับโอแสดงความยินดีที่ได้รับรางวัล และถามว่่า ตู๋กับโอมีวิธีการอ่านอย่างไร ตู๋กับโอจึงชี้แจงว่า "ให้สังเกตความข้างเคียงก่อนที่จะอ่านคำนั้น"
..........เด็ก ๆ สนุกกับกิจกรรมภาษาไทย และอยากให้จัดมีขึ้นทุกวัน ไม่เฉพาะวันภาษาไทยแห่งชาติเท่านั้น เพราะภาษาไทยเป็นภาษาของเราเป็นศักดิ?ศรีของชาติที่คนไทยทุกคนควรภูมิใจ




ที่มา : หนังสือเสริมกลุ่มภาษาไทย ป.3
         อ.กัลย์ชลิตา ศิวารมณ์ 
By : Rinlaporn&Omsin

4 มิถุนายน 2554

ทายปัญหากับคุณตา

บทที่ ๕
ทายปัญหาหับคุณตา
เนื้อหา


..........ทายปัญหากับคุณตา เป็นเรื่องการทายปัญหาระหว่างเด็ก ๆ กับคุณตาเรื่องมีอยู่ว่า นันทาและเพื่อน ๆ พากันไปที่บ้านมะลิที่เป็นบ้านสวน มีต้นไม้ใหญ่เป็นร่มเงาและมีสนามกว้าง เพื่อไปอ่านหนังสือและวิ่งเล่นกัน มีคุณตาและคุณยายมาคุยกับเด็ก ๆ คุณพ่อของมะลิเก็บผลไม้ที่ปลูกไว้ในสวนมาให้เด็ก ๆ รับประทานกัน ส่วนคุณแม่ของมะลิก็ทำน้ำปลาหวานมาให้เด็ก ๆ ด้วย นันทาและเพื่อน ๆ ก็มีขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พ่อแม่ฝากมารับประทานกัน
..........ขณะที่เด็ก ๆ กำลังทายปัญหา "อะไรเอ่ย" กันอยู่ ก็ได้ยินเสียงคุณตาหัวเราะดังมาจากใต้ต้นขนุน พร้อมกับนันทาและมะลิก็ได้วิ่งไปรวมกลุ่มกับเพื่อน ๆ ด้วย เมื่อคุณตาได้เข้ามาร่วมวงกับเด็ก ๆ คุณตาจึงให้เด็ก ทายปัญหา โดยคุณตาถามว่า "อะไรเอ่ย ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเขียน" เด็ก ๆ แย่งกันตอบว่า ปากกา ดินสอ พู่กัน คุณตาบอก ว่าไม่ถูก พร้อมกับยกเีทียนไขขึ้นและบอกว่าถ้าใครทายถูกจะให้รางวัล นันทาบอกว่าเทียนไข เอาไปทำไมคะ คุณตาจึงเฉยว่า "ไทยเขียนก็เทียนไขไวใช่ไหมล่ะ" นันทาและเพื่อน ๆ หัวเราะชอบใจ ปัญหาต่อมาคุณตาถามว่า "อะไรเอ่ย เรือนปั้นหยา ทาสีเขียว นอนคนเดียว กางมุ้งขาว" คุณตาพูดว่า "บอกใบ้ให้ก็ได้เป็นผลไม้" เด็กคนหนึ่ง ตอบว่า "แตงโมครับ" เด็กคนหนึ่งแย้งว่า "ไม่ใช่ แตงโมสีแดง ไม่ใช่สีขาว" มะลินึกอยู่พักหนึ่ง จึงตอบว่า "น้อยหน่า" เปลือกสีเขียว มีเรือนปั้นหยา ทาสีเขียว นอนคนเดียว  กางมุ้งขาว ก็เมล็ดหุ้มด้วยเนื้อสีขาว" คุณตาบอกว่า "ใช่แล้ว สมกับเป็นชาวสวนจริง ๆ" และปัญหาสุดท้ายที่คุณตาถามคือ "มีคำอะไรบ้างที่ออกเสียงเหมือนมีสระอะแต่เวลาเขียนไม่มีสระอะ" ถามเสร็จคุณตาก็ลุกเดินหนีไป และบอกว่าให้เด็ก ๆ ปรึกษากันหาคำตอบแล้วคุณตาจะกลับมาฟังคำตอบ เด็ก ๆ ช่วยกันคิดอย่างเคร่งเครียด ใครจะช่วยนินทาและเพื่อน ๆ คิกหาคำตอบได้บ้าง





ที่มา : หนังสือเสริมกลุ่มภาษาไทย ป.3
         อ.กัลย์ชลิตา ศิวารมณ์ 

Rinlaporn&Omsin

ความฝันนั้นเป็นจริงได้

บทที่ ๔
ความฝันนั้นเป็นจริงได้
เนื้อเรื่อง


..........ความฝันนั้นเป็นจริงได้ เป็นเรื่องความฝันของเด็กชายบรรเจิด เมื่อเขานอนหลับและฝันไปว่าเขาติดปีกบินได้ไปไกลจนถึงภูเขาสุพรรณบบพต แล้วไปร่อนลงตรงลานกว้างหน้าศาลาของพระฤๅษีที่กำลังนั่งปฏฺบัติธรรมอยู่ เขาเข้าไปนั่งตรงชานบันไดและน้อมไหว้ด้วยความเคารพ พระฤๅษีถามเขาว่า " อะไรบันดาลให้เจ้าเดินทางมาถึงที่นี่" เขาตอบว่า "คงเป็นบุญบันดาลให้ผมมีฤทธิ์บินได้ ผมยังคิดไม่ออกว่าผมติดปีกบินได้อย่างไร" พระฤๅษีให้บรรเจิดบรรยายให้ฟังว่าระหว่างเดินทางที่บินมาได้เห็นอะไรบ้าง แล้วเขาก็บรรยายว่า "เขามองเห็นแม่น้ำสองสายไหลมาบรรจบกันกลายเป็นทะเลกว้าง เห็นภูเขาไฟกำลังปะทุเสียงบันลือลั่นเหมือนมังกรคำราม เขารู้สึกกลัวมาก ยิ่งบินเร็วก็ยิ่งกลัว จึงร่อนลงที่หน้าศาลานี่แหล่ะครับ" พระฤๅษีจึงสอนเขาว่า "เมื่อใดที่มีความมั่นใจย่อมมีพลังนำไปสู่ความสำเร็จ ความกลัวทำให้ความเข้มแข็งลดลง กำลังใจก็เสื่อมถอย" พระฤๅษีได้สอนเขาต่อไปว่า "ทำอะไรต้องตั้งใจทำจริง อย่ากลัว อย่ากลัว อย่ากลัว" เสียงของฤๅษีดังก้องจนเขาสะดุ้งตื่นจึงรู้ว่าฝันไป เขาเล่าเรื่องนี้ให้คุณพ่อฟัง คุณพ่อบอกว่า เขาใฝ่ฝันอยากเป็นนักบินจึงฝันว่าบินได้ วันหนึ่งคุณพ่อพาเขาไปที่สนามของชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย เขาตื่นเต้นมากที่ได้เห็นเครื่องร่อนลอยไปช้า ๆ ตามทิศทางลม คุณพ่อบอกว่า ถ้าเขาตั้งใจใฝ่รู้และมีความกล้าค้นหาความสามารถของตนเองก็จะพบความสำเร็จ และคุณพ่อได้ท่องกลอนเกี่ยวกับการบินที่เขียนไว้นานแล้วให้เขาฟัง เขาจึงคิดว่า "วันหนึ่งเขาจะเป็นนักบินให้ได้" เพื่อความฝันนั้นจะได้เป็นความจริง




ที่มา : หนังสือเสริมกลุ่มภาษาไทย ป.3
         อ.กัลย์ชลิตา ศิวารมณ์ 

Rinlaporn&Omsin

พลังงานคือชีวิต


บทที่ ๓

พลังงานคือชีวิต

เนื้อเรื่องย่อ


..........พลังงานคือชีวิต เป็นเรื่องที่ครูเล่าเรื่องพลังงานให้นักเรียนฟัง ซึ่งสืบเนื่องมาจาก บ้านบางบ้าน ลูก ๆ นั่งงงเพราะพ่อกับแม่ดูเดือดร้อนที่แม่แค้าขายของแพง ลูกค้าบ่นและต่อรองราคา ที่โรงเรียน หน้าตาของเด็ก ๆ ดูเศร้าหมองเพราะพ่อแม่ไม่พาไปเที่ยวตามที่สัญญาไว้ เด็กบางคนกินอาหารไม่อิ่ม เพราะแม่ค้าตักอาหารให้น้อย บางบ้านเด็กบอกว่าไฟไม่สว่างเหมือนเดิม เพราะพ่อแม่ไม่ให้เปิดไฟมากเด็กบางคนไม่ได้อาบน้ำ เพราะสิ้นเปลืองน้ำ เดี๋ยวจะไม่มีน้ำจะอาบ
..........ดังนั้นครูจึงเรียกเด็กๆ มานั่งรวมกันแล้วเล่าเรื่องให้เด็กฟังว่า ขณะนี้พลังงานหลักของการคมนาคม การขนส่ง และการผลิตกระแสไฟฟ้าคือ น้ำมันดิบ ั่วโลกกำลังขาดแคลนและมีราคาสูง จึงมีผลกระทบต่อการคมนาคม การขนส่ง การผลิตกระแสไฟฟ้้า การผลิตน้ำประปา การเดินเรือ การประมง เป็นต้น
..........ดังนั้นนักเรียนไม่ควรโกรธหรือเสียใจที่ไม่ได้ไปเที่ยว ซื้อของแพงหรือกินอาหารไม่อิ่ม แต่เราควรมาหาวิธีการใช้พลังงานให้น้อยลง เพื่อเป็นการประหยัด และเราจะได้มีพลังงานใช้ไปตลอด และเด็ก ๆ ได้ช่วยกันคิดวิธีการประหยัดพลังงาน โดยบางคนบอกว่า ถ้ายังมีแสงสว่างพอเห็นก็ไม่ควรเปิดไฟ บางคนบอกว่าไฟดวงไหนไม่ใช้ต้องรีบปิด บางคนบอกว่าอย่าเปิดน้ำทิ้งไว้ตอนถูสบู่หรือแปรงฟัน ขึ้นรถเมล์หรือเดินบ้างไม่ต้องนั่งรถส่วนตัวตลอด ปิดพัดลม ปิดเครื่องทำความเย็นเมื่อไม่ใช้ ขึ้นอาคารชั้นเดียวหรือสองชั้นควรเดินขึ้น ไม่ต้องใช้ลิฟต์ ขี่จักรยานไปในระยะทางใกล้ ๆ เวลาต้มน้ำ เมื่อน้ำเดือดแล้วต้องปิดแก๊ส อย่าเปิดปิดตู้เย็นบ่อย รีดผ้าในคราวเดียวให้มาก อย่ารีดบ่อยๆ 
..........เมื่อนักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการประหยัดพลังงานแล้วก็ช่วยกันสรุปและเขียนบนกระดานไว้ว่า พลังงานคือชีวิตฯ ถ้าเรามีวินัยในการใช้โดยคิดให้รอบคอบก่อนใช้ทุกครั้ง เราจะมีพลังใช้อีกนาน และแต่่งคำขวัญ เช่น ประหยัดไฟคนละนิด ช่วยเศรษฐกิจของบ้านเมืองง ฯลฯ แล้วนำไปติดไว้หน้าห้องเรียน
..........ครูพูดว่า "เออหนอ...แค่น้ำมันขึ้นราคาอย่างเดียวกระทบไปถึงน้ำ ไฟฟ้า แก๊สหุงต้ม และการดำเนินชีวิตของทุก ๆ คนเลยนะนี่"



ที่มา : หนังสือเสริมกลุ่มภาษาไทย ป.3
         อ.กัลย์ชลิตา ศิวารมณ์ 

Rinlaporn&Omsin