จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

10 กุมภาพันธ์ 2555

* คำนาม

คำนาม คือ คำที่แสดงความหมายถึงคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ
สถานที่ ลักษณะซึ่งรวมทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวต เช่น ดาวเรือง นกกระสา
เก้าอี้ คำนามบางคำไม่ได้บอกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ สภาพ อาการ สถานที่
แต่บอกลักษณะ และนามที่บอกลักษณะนี้ เราเรียกว่า ลักษณะนาม มักจะ
อยู่หลังคำบอกจำนวน เช่น ช้าง ๑ ตัว บ้าน ๓ หลัง ปากกา ๒ ด้าม
..........คำว่า ตัว เป็นลักษณะนามของ ไก่
..........คำว่า หลัง เป็นลักษณะนามของ บ้าน
..........คำว่า ด้าม เป็นลักษณะนามของ ปากกา

..........การใช้คำลักษณะนาม นอกจากสามารถใช้ตามหลังจำนวนแล้ว
ยังสามารถตามหลังคำนามก็ได้  เช่น เสื้อตัวสีเขียวสวยจริง ๆ มะนาว
ต้นนี้สูงมาก โรงเรียนหลังนี้ใหญ่

คำนามมีหลายชนิด ดังนี้
๑. คำนามทั่วไป เป็นคำที่ไม่ชี้เฉพาะว่าเป็นสิ่งไหน เช่น ดินสอ สมุด
ปากกา กระป๋อง ฯลฯ

๒. คำนามเฉพาะ เป็นคำที่ชี้เฉพาะลงไปว่าเป็นใครหรือสิ่งใด เช่น
นายสมชายวิ่งเก่ง

๓. คำนามบอกหมวดหมู่ เป็นคำที่บอกว่ามีหลาย ๆ สิ่ง หลาย ๆ อย่าง
รวมกัน เช่น ฝูงช้าง กองดิน ฯลฯ

๔. คำนามบอกอาการ เป็นคำที่บอกการกระทำหรือการแสดงมักมีคำว่า
ความ การ อยู่ข้างหน้า ตัวอย่างเช่น การนอนหลับ การเรียน ความดี
ความชั่ว ความกลัว ฯลฯ

๕. คำนามบอกลักษณะ เป็นคำตามหลังจำนวนบอกลักษณะของนามนั้นๆ
ดังตัวอย่างเช่น ปากกา ๓ ด้าม ไข่ ๓ ฟอง

หน้าที่ของคำนาม
มีดังนี้
๑. ทำหน้าที่เป็นประธาน เช่น นารีจับปลา
๒. ทำหน้าที่เป็นกรรม เช่น น้องดิวชอบเล่นฟุตบอล
๓. ทำหน้าที่เป้นกรรมตรงและกรรมรอง เช่น แม่เย็บเสื้อให้ฉัน
๔. ทำหน้าที่ขยายคำนามอื่น
๕. ทำหน้าที่ขยายกริยา บอกสถานที่ ทิศทาง หรือเวลา เช่น
เขาไปตลาด วิภาชอบทำงานตอนเย็น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:สรุปหลักภาษาไทย การใช้ภาษาไทย
Rinlaporn&Omsin