หลักการประ หรือไม่ประวิสรรชนีย์
มีหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้
๑. คำไทยแท้ทุกคำที่อ่านออกเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์
๒. คำประสมซึ่งคำหน้ากร่อนไปเป็นเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์
๓. คำที่มาจากภาษาบาลี สันสกฤต ถ้าตัวท้ายของคำต้องการ
ให้อ่านออกเสียงอะ ให้ประวิสรรชนีย์
๔. คำที่ขึ้นด้วย สะ และแผลงเป็น หรือ
๕. คำเดิมที่ประวิสรรชนีย์อยุ่แล้ว เมื่อแทรก ร เข้าไป ก็คง
ประวิสรรชนีย์ตามเดิม
๖. คำซ้ำ ให้ประวิสรรชนีย์
ส่วนคำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ หรือคำที่ไม่มีสระ ะ ประสม แต่อ่าน
ออกเสียงอะ มีหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ
๑. คำที่มีอักษรนำไม่ต้องประวิสรรชนีย์
๒. คำภาษาเดิมมีพยัญชนะตัวต้นสองตัวซ้อน ในภาษาไทยจะเพิ่มเสียง
ตัวหน้าเป็น อะ ไม่ต้องประวิสรรชนีย์
๓. คำที่เสียงตัวหน้าออกเสียงอะไม่เต็มเสียง ไม่ต้องประวิสรรชนีย์
------------------------------------------
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : หนังสือความรู้รอบตัวภาษาไทย,ชุลีพร สุสุวรรณ
Rinlaporn&Omsin