จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

2 กันยายน 2554

ทบทวน หลักภาษา กันหน่อย

 พยัญชนะไทย

          มีทั้งหมด 44 ตัว แบ่งตามระดับเสียงออกเป็น 3 กลุ่ม เพื่อสะดวกในการผัน
เสียงวรรณยุกต์ เรียกว่า อักษร 3 หมู่ หรือ ไตรยางค์ ได้แก่ อักษรสูง  อักษรกลาง 
และอักษรต่ำ

อักษรสูง มี 11  ตัว  ข  ฃ  ฉ  ถ  ผ  ฝ  ศ  ษ  ส  ห


อักษรกลาง มี  9  ตัว  คือ  ก  จ  ฎ  ฏ  ด  ต  บ  ป  อ

อักษรต่ำ  มี  24  ตัว  คือ  ค  ฅ  ฆ  ง  ช  ซ  ฌ  ฒ  ณ  ท ธ  น 
พ  ฟ  ภ  ม  ย  ร  ล  ว  ฬ  ฮ

สระภาษาไทย

          สระ  แบงตามการออกเสียง เป็นสระ เสียงสั้น  และสระ เสียงยาว

สระเสียงสั้น  มี 28  รูป  ได้แก่  -ะ   -ิ   -ึ   -ุ   เ-ะ   แ-ะ   โ-ะ   เ-าะ
เ-อะ   เ-ียะ   เ-ือะ   -ัวะ   ฤ   ฦ   -ำ   ไ-   ใ-   เ-า

สระเสียงยาว  มี  14  รูป  ได้แก่  -า   -ี   -ื   -ู   เ-   แ-   โ-   -อ
เ-อ   เ-ีย   เ-ือ   -ัว   ฤๅ   ฦๅ

การใช้สระในภาษาไทย แบ่งเป็น  3  แบบ ได้แก่
1. แบบคงรูป คือ นำไปผสมกับพยัญชนะโดยไม่เปลี่ยนรูป ตัวอย่างเช่น
          ด  +  -ำ    =  ดำ
          ต  +  แ-ะ  =  แตะ
          ต  +  -า   =  ตา

2. แบ่บแปลงรูปหรือเปลี่ยนรูป คือ รูปสระบางตัวจะเปลี่ยนไป เมื่อมีตัวสะกด ตัวอย่างเช่น
          ร  +    -ะ  +  ก  = รัก
          ห  +  เ-ะ  +  น  =  เห็น
          ด  +เ-อ  +  น  =  เดิน
3. แบบลดรูป คือเมื่อนำสระมาผสมกับพยัญชนะและตัวสะกด รูปสระบางตัวจะหายไป  
ตัวอย่าง เช่น
          ม  +  โ-ะ  +  ด  =  มด
          พ  +  -อ  +  ร  =  พร
          ข  +  เ-อ  +  ย  =  เขย

วรรณยุกต์

วรรณยุกต์  คือ  เครื่องหมายที่ทำให้เสียงและความหมายของคำเปลี่ยนไปจากเดิม 
วรรณยุกต์ มี 4 รูป 5 เสียง

1. วรรณยุกต์มี  4 รูป คือ  -่  -้  -๊  -๋
2. วรรณยุกต์มี 5 เสียง คือ  เสียงสามัญ  เสียงเอก  เสียงโท  เสียงตรี  เสียงจัตวา


** แหล่งข้อมูลอ้างอิง : แม่บทมาตรฐาน ช่วงชั้นที่ 1 ภาษาไทย,เอกรินทร์ สี่มหาศาล
และคณะ
** โดย : ซ่อนกลิ่น



Rinlaporn&Omsin